ปวดร้าวลงขา ไซอาติก้า (Sciatica)

    อาการปวดร้าวลงขาเป็นอาการที่สามารถพบได้บ่อยในคนที่จำเป็นต้องนั่งทำงานหรือนั่งทำกิจกรรมบางอย่างเป็นระยะเวลานาน ๆ หรือกิจวัตรประจำวันที่ต้องยกของหนัก ๆ โดยเคลื่อนไหวลำตัวในท่าที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงภาวะโรคอ้วนและผู้หญิงตั้งครรภ์ก็อาจมีอาการปวดนี้ได้เช่นกัน

โรคปวดร้าวลงขาคืออะไร

    โรคปวดร้าวลงขาหรือ “ไซอาติกา” Sciatica เป็นอาการที่ปวดสะโพกร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่ง มีอาการปวดขาลามไปถึงข้อเท้าหรือมีอาการแขนขาอ่อนแรงร่วมด้วย ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนของเส้นประสาทถูกกดทับบริเวณสะโพกหรือช่วงเอว โดยมีอาการแตกต่างจากอาการปวดหลังแบบอื่น ๆ คือเริ่มปวดที่ด้านหลังของสะโพกแล้วปวดร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่ง มีอาการร้อน ๆ บริเวณที่ปวด รู้สึกเสียวแปล๊บ ๆ และอาจมีอาการขาชาร่วมด้วย

สาเหตุของโรคปวดร้าวลงขา

    ส่วนใหญ่โรคปวดร้าวลงขามักจะมีสาเหตุมาจากหมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ความผิดปกติของกระดูกสันหลัง โรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง ซึ่งมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น การเคลื่อนไหวร่างกายผิดอิริยาบถ การเล่นกีฬาหักโหม การยกของหนักผิดวิธี อุบัติเหตุต่าง ๆ ที่ทำร้ายกระดูกสันหลังอย่างเช่นหกล้มหรือรถชน เป็นต้น

อาการของโรคปวดร้าวลงขา

    โรคไซอาติกาหรือโรคปวดร้าวลงขาจะมีอาการปวดร้าวตั้งแต่สะโพกลงมาที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง โดยสังเกตได้จากอการปวดบริเวณด้านหลังของต้นขากับน่อง บางรายอาจมีอาการปวดสะโพกด้านหน้าหรือด้านข้างของขา รวมทั้งรู้สึกปวดร้าวจนถึงข้อเท้า เท้า และนิ้วเท้า แต่บางรายก็อาจจะมีอาการปวดสะโพกหรือปวดหลังก่อนที่จะมีอาการปวดร้าวลงขา

    สำหรับระดับความรุนแรงของอาการปวดร้าวลงขาขึ้นอยู่กับการถูกกดทับของเส้นประสาท อาจจะมีอาการปวดเมื่อย ๆ ไปจนถึงปวดแปล๊บ ๆ ราวกับถูกมีดกรีด รู้สึกชาคล้ายกับโดนเข็มทิ่ม ไม่มีเรี่ยวแรงที่ต้นขา ขา และเท้า ส่วนระยะเวลาของอาการปวดจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการปวดนั้นสะสมมานานมากน้อยเพียงใด ปวดตั้งแต่เป็นชั่วโมง ปวดนานหลายวัน หรือปวดเป็นสัปดาห์

วิธีเบื้องต้นในการดูแลโรคปวดร้าวลงขา

    การดูแลเบื้องต้นเพื่อบรรเทาอาการโรคปวดร้าวลงขา จะช่วยป้องกันกระดูกสันหลังไม่ให้บาดเจ็บมากกว่าที่เป็น ณ ปัจจุบัน ก่อนที่จะเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในขั้นต่อไป

  • เมื่อมีอาการปวดหลังหรือปวดร้าวลงขาแบบกะทันหัน ควรหยุดสิ่งที่กำลังทำหรือวางของที่กำลังยกอยู่ทันที
  • นั่งพักหรือนอนพักในท่าที่ถูกต้องเพื่อเป็นการพักกระดูกสันหลังที่ได้รับบาดเจ็บ
  • ประคบเย็นด้วยน้ำแข็งหรือเจลแพคเย็นบริเวณที่ปวดครั้งละ 10 นาที ทุก 1 – 2 ชั่วโมง จนกว่าอาการอักเสบหรืออาการระบมดีขึ้น
  • ทำท่าบริหารกระดูกสันหลังอย่างถูกหลัก จากนั้นสังเกตว่าช่วยบรรเทาอาการปวดลงได้บ้างหรือไม่ ถ้าดีขึ้นให้ทำครั้งละ 10 นาที ทุก 1 – 2 ชั่วโมง แต่หากมีอาการปวดมากขึ้นควรหยุดทำทันทีแล้วไปพบแพทย์
  • ถ้าอาการปวดขาหรือหลังยังไม่ลดลง มีอาการอักเสบและระบมไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ แต่รีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลังโดยเร็วที่สุด

    อาการของโรคปวดร้าวลงขานอกจากอายุมากขึ้นทำให้เกิดความเสื่อมของอวัยวะแล้ว ส่วนใหญ่มักจะมาจากพฤติกรรมที่เราอาจทำร้ายกระดูกสันหลังไม่รู้ตัว ดังนั้นลองหมั่นสังเกตตัวเองแล้วปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อช่วยชะลอความเสื่อมและเป็นการลดความเสี่ยงทำร้ายกระดูกสันหลังของเรานั่นเอง ทางเราขอแนะนำ น้ำมันนวดพญาดำ ใช้ในการผ่อนคลาย พกติดตัวเป็นดีกลิ่นหอม สดชื่น

ช่องทางการติดต่อ